เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำธุรกิจส่งออก

การส่งออกและนำเข้าประเทศไทยมีความได้เปรียบเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ อีกทั้งประเทศไทยยังได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ที่ดีที่สุดในอาเซียน เพราะมีทางออกทางทะเลทั้งสองฝั่ง ทำให้ธุรกิจส่งออกของไทยมีความน่าสนใจ เหมาะแก่การลงทุน และประเทศเพื่อนบ้านมักจะนำเข้าสินค้าของไทยเป็นหลัก สำหรับการทำธุรกิจการส่งออกสินค้าให้อยู่รอดได้นั้นมีเคล็ดลับ ดังนี้

1.การแต่งตั้งผู้จัดการโครงการขึ้น เนื่องจากการดำเนินธุรกิจประเภทนี้มีรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องของข้อมูลและวิธีการดำเนินการต่างๆที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งเป็นอันดับแรกในการเริ่มธุรกิจส่งออก ดังนั้นการแต่งตั้งผู้จัดการในครั้งนี้จะต้องเลือกเอาบุคคลในระดับท๊อปสุด ที่มีความรู้ความสามารถบวกกับประสบการณ์การทำธุรกิจในต่างประเทศจึงจะเหมาะสมที่สุด

2.ตรวจสอบโอกาสทางการตลาดของประเทศอื่น ส่งตัวแทนออกไปยังประเทศต่างๆ มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากขนาดไหน โดยต้องพิจารณาข้อมูลในทุกเรื่อง จึงต้องทำการพิจารณาและวิเคราะห์อย่างละเอียดด้วยว่าธุรกิจจะสามารถเข้าไปเจาะและตีตลาดได้หรือไม่

3.ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์สินค้า ผู้ประกอบการต้องนำข้อมูลของแผนการดำเนินงานทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีมาตรวจสอบเพื่อเปรียบเทียบ เพราะเชื่อว่าคงไม่มีผลิตภัณฑ์สินค้าชนิดใดจะสามารถขายได้ในทุกประเทศโดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนในส่วนไหนเลย ดังนั้นจึงควรปรับเปลี่ยนถ้าจำเป็น เพื่อผลตอบรับที่ดี

4.เลือกรูปแบบการส่งออก มีอยู่ด้วยกัน 3 ช่องทางคือ รถยนต์ เรือ เครื่องบิน แต่ละช่องทางจะมีราคาและเรื่องระยะเวลาที่แตกต่างกันซึ่งเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการต้องนำมาคำนวนด้วย ควรต้องคัดเลือกให้มีความเหมาะสมกับแผนงานมากที่สุด หรือใช้วิธีการร่วมทุนกับต่างชาติ

5.ตรวจสอบภาษี ในแต่ละประเทศจะมีการเรียกเก็บภาษีที่แตกต่างกันออกไปตามแต่กฎหมายของประเทศนั้นๆ ดังนั้นจึงควรว่าจ้างทนายความและนักบัญชีที่เป็นคนในประเทศดังกล่าวขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจเพื่อจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกกฎหมาย

6.เสริมสภาพคล่องทางการเงินไว้ให้มาก  เพราะเมื่อเกิดปัญหาฉุกเฉินขึ้นมาก็แทบจะไม่มีสิทธิไปขอกู้ธนาคารที่อยู่ต่างประเทศได้เลย การรักษาสุขภาพทางการเงินจึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ

SMEs กับก้าวแรกในการทำธุรกิจการส่งออกสินค้า และบริการ

ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยประกอบด้วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กมากกว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจ ทั้งประเทศ โดยมีการจดทะเบียนเป็นจํานวนมากกว่า 2 ล้านราย ก่อให้เกิดการจ้างงานคิดเป็นร้อยละ 76 ของทั้งหมด และยังช่วยกระจายรายได้ในอีกหลายกลุ่ม ดังนั้น ธุรกิจ SME จึงมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การขยายกิจการเติบโตจนสามารถส่งออกสินค้า ไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้จึงเป็นความฝันของผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยี Logistics และการสื่อสารที่ก้าวหน้าทําให้การติดต่อหาคู่ค้าจากทั่วทุกมุมโลก เป็นไปได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายน้อยลงกว่าแต่ก่อน ทางภาครัฐก็ริเริ่มโครงการสนับสนุนหลายโครงการ แต่เมื่อพิจารณาตัวเลขปริมาณการส่งออกทั้งหมดของไทยแล้ว มีเพียงร้อยละ 26 เท่านั้นที่เป็นการส่งออกจากภาค SMEs ของไทย ขณะที่การเปิดประชาคมเสรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปีพ.ศ. 2558 นั้นใกล้เข้ามา ทุกฝ่ายต่างคาดหวังว่าการ เปิดนี้จะทําให้เกิดจุดเปลี่ยนครั้งสําคัญที่สามารถสร้างโอกาสการเปิดตลาดสู่ต่างประเทศของผู้ประกอบการ SMEs แต่สถิติและผลสํารวจจากหลายหน่วยงานกลับบ่งชี้ว่า SMEs ไทยยังขาดความพร้อมในภาคการส่งออก ผลสํารวจ ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยระบุว่าในปี พ.ศ. 2555 มีผู้ประกอบการ SMEs เพียงร้อยละ 56 เท่านั้นที่ “พร้อม” ต่อการทําธุรกิจในตลาด AEC ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5 จากปีก่อนหน้านั้น

ธุรกิจ SMEs ของไทยจํานวนมากมีสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องในการตลาดต่างประเทศและยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ตัวผู้ประกอบการต่างหากที่ไม่กล้าเสี่ยง และคิดว่าธุรกิจของตนยังไม่พร้อมส่งออก คุณศุภรายังกล่าวอีกว่า ความคิดเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากการขาดข้อมูลของตลาดเป้าหมาย อีกส่วนจากทัศนคติในแง่ลบ ว่าการส่งออกนั้นมีขั้นตอนซับซ้อนและจําเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์จํานวนมาก แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถพบคําตอบของประเด็นเหล่านี้ได้ และขั้นตอนการส่งสินค้าไปในตลาดต่างประเทศก็ไม่ซับซ้อนเหมือนเมื่อก่อน โดยเฉพาะในตลาดอาเซียน เพียงแค่มีการคิดเชิงวิเคราะห์และหาข้อมูลวางแผนอย่างมีขั้นตอนประกอบด้วยเท่านั้น

ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นด้วยการตั้งโจทย์เล็ก ๆ ให้แก่ธุรกิจของตนเองทีละด้าน เช่น การหาจุดแข็ง (strength) ของสินค้าตัวเอง หาตลาดเป้าหมาย (target market) เพื่อการนําเสนอขายสินค้าและบริการให้ตรงกลุ่มลูกค้า จากนั้นจึงทําแผนการตลาดโฆษณาผลิตภัณฑ์ และสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จัก